วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างข้าราชการ กับ พนักงานมหาวิทยาลัย


ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาวิชาการ อนาคตการอุดมศึกษาไทย ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย # เชียงใหม่


ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาวิชาการ อนาคตการอุดมศึกษาไทย ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย # เชียงราย

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พนักงานมหาวิทยาลัยกับการทำให้เป็นคนชายขอบ

“พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา” เป็นข้อความสั้นๆ ในจำนวน 8 หน้า ที่แสดงถึงการมีตัวตนของการมีอยู่ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหรือพนักงานในมหาวิทยาลัย ใน พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
การกำเนิดเผ่าพันธุ์ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดจ้างพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบในปี พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยออกนอกระบบออกเพื่อใคร??? คืออีกหนึ่งประเด็นที่ต้องการคำตอบมหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ในส่วนของมหาวิทยาลัยที่ต้องการออกนอกระบบ คำถามคือ ออกเพื่อใคร ต้องการออกเพราะความคล่องตัวของการบริหารงาน เพื่อดึงคนเก่งเข้ามาในมหาวิทยาลัย แต่การดึงคนเก่งเข้ามาต้องหารายได้ให้มากเพื่อจะได้มีค่าจ้างที่แพงขึ้นใช่หรือไม่...แล้วรายได้มาจากไหน..จำนวนนักศึกษา การเพิ่มค่าหน่วยกิต เป็นพัฒนาการเพื่อแสวงผลกำไรทางการค้า ถ้าเป็นเช่นนั้นรัฐต้องการส่งเสริมเรื่องการศึกษาเป็นธุรกิจใช่หรือไม่ ที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่ต้องการนำเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ สามารถตอบโจทย์ การพัฒนาการศึกษาไทยได้จริงหรือ....หรือเป็นเพียงคำโป้ปดเพียงแค่อยากผลักภาระของภาครัฐฯ

จากการดำเนินนโยบายมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แล้วทุกวันนี้ผู้บริหารเกือบทุกมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นใคร..หากไม่เป็นส่วนราชการ เหตุใดจึงมีข้าราชการอยู่ในหน่วยงาน....ต่างกันกับหน่วยงานอื่นที่ถูกแปรรูปไป เช่น การบินไทย ไปรษณีย์ บริษัท ปตท.(การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย)ฯลฯ ที่กลายสภาพเป็นบริษัท มีสภาพแรงงานเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และต่อรองจากฝ่ายบริหาร...แต่ในทางกลับกันมหาวิทยาลัยยังคงใช้ระบบข้าราชการอยู่จนถึงปัจจุบัน การบรรจุอาจารย์ใหม่เรียกว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” ตาม พรบ.ที่กำหนด การที่รัฐบาลจะสร้างมาตรฐานสองระบบในสถานที่เดียวกัน ปัญหาจึงเกิดเพราะหลักการปฏิบัติ ย่อมเกิดความเลื่อมล้ำ จากนโยบายดังกล่าวผลักดันให้อาจารย์ใหม่ในมหาวิทยาลัยเป็นคนชายขอบ สภาวะของความเป็นชายขอบ ทำให้ถูกทอดทิ้ง ถูกเอาเปรียบ และถูกเอาประโยชน์ ถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงทรัพยากร ฯลฯ คนเหล่านี้มักอยู่นอกสายตา ไม่เคยถูกเล็งเห็นและได้รับการช่วยเหลือ สิ่งที่รัฐบาลได้วางนโยบายไว้สวยหรู คือ พนักงานมหาวิทยาลัยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อัตราเงินเดือนแรกเข้าโดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าข้าราชการ คือ เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า สำหรับ สาย ก. และเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ของสาย ข. มีกี่มหาวิทยาลัยที่ทำได้ สิ่งที่พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ คือความไม่มั่นคงทางอาชีพ เนื่องด้วย พรบ.ดังกล่าว ระบุว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา” หลักการนี้ผลักดันให้ อาจารย์ใหม่ในมหาวิทยาลัย กลายเป็นอาจารย์อัตราจ้างขึ้นมาทันที หากถูกเลิกจ้างจึงไม่มีสิทธิ์ในการได้รับการชดเชย 3 เดือน จากนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน เพราะ “มหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์”
นอกจากนี้การเป็นบุคคลไร้สถานภาพ ทำให้ขาดสิทธิ์รักษาพยาบาล พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ระดับปริญญาโท ปริญญาเอก จัดเป็นกลุ่มมันสมองของประเทศ แต่คนกลุ่มนี้กลับถูกละเลยจากรัฐบาล จ้างโดยสัญญาจ้าง สิทธิ์อื่นใดไม่มี ผลิตบัณฑิตสู่สังคม รุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่เงินเดือนยังอยู่ที่หมื่นสองหมื่นสาม ลูกศิษย์ที่สำเร็จการศึกษามีเงินเดือนแซงหน้าลิบ
ระบบศักดินาในมหาวิทยาลัย พนง.มหาวิทยาลัยต่างรู้ดีว่าเป็นพลเมืองชั้นสองในระบบ..ความเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย...หลายคนบอกโก้หรู...เป็นแนวหน้าสำหรับจะพาประเทศเข้าสู่อาเซียน อาจารย์ใหม่คิดอยากจะขอสินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ธนาคารยังจัดไม่ถูกว่าอยู่ในหมวดใด จะเป็นข้าราชการก็ไม่ใช่ เป็นลูกจ้างประจำก็ไม่ใช่ ลูกจ้างชั่วคราวก็ไม่เชิง ครูอัตราจ้างก็ไม่ใช่ ธนาคารถามแบบ งงๆ ว่าตกลงคุณเป็นอะไรกันแน่ (รัฐบาลออกมาตอบหน่อยว่า พนักงานมหาวิทยาลัย ตกลงเป็นตัวอะไรกัน??? )

(ครู)คนชายขอบ
6 พฤษภาคม 2555

สถานภาพอาจารย์พนักงาน ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

สถานภาพอาจารย์พนักงาน ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

โดย สุรชัย เทียนขาว มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปัจจุบันที่อยู่ในสังกัด / กำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการก่อรูปแบบการบริหารไปสู่รูปแบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาทั้งที่เป็นส่วนราชการและเป็นมหาวิทยาลัยกำกับรัฐบาลหรือนอกระบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อม ความต้องการของประชาคมและนโยบายแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ของรัฐ ได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยนครพนม ยังดำรงสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการต่อไปอีกหลายปี

เนื่องจากกลุ่มมหาวิทยาลัยต่างๆ เหล่านี้เพิ่งได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคลได้ไม่นานมานี้ ยังต้องพัฒนาตนเองไปอีกระยะหนึ่ง แม้ว่าจะมีบางสถาบันประกาศนโยบายนำสถาบันไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบก็ตาม ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

กลุ่มมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ดังกล่าวนี้มีกลุ่มบุคคลที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งอาจารย์ที่มีสถานภาพเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นบุคคลที่ได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา

พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นลูกจ้างชั่วคราวของสถาบันอุดมศึกษานั่นเอง ไม่มีหลักประกันว่าจะจ้างกี่ปี เลิกจ้างเมื่อไร อัตราเงินเดือน (อัตราค่าจ้าง) เงินเพิ่ม และสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และเงินประจำตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดสาระต่างๆ อาจจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไปของแต่ละสถาบัน

สำหรับสถานภาพของกลุ่มอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พอที่จะมองเห็นลู่ทางที่ชัดเจนขึ้นด้วยการมองการณ์ไกลของรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีกูรูด้านการบริหารการอุดมศึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประดิษฐ์ (invent) ระบบอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2551

กฎหมายฉบับนี้เป็นผลงานทางด้านการอุดมศึกษาที่โดดเด่นของรัฐบาลสมัยนั้น เนื่องจากมีบทบัญญัติหลายมาตราที่ช่วยยกสถานภาพของอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่ได้เป็นข้าราชการให้สามารถรับสิทธิบางประการทัดเทียมกับกลุ่มอาจารย์ที่เป็นข้าราชการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด 9 ประกอบด้วยมาตรา 65/1 และมาตรา 65/2 แม้ว่ารัฐบาลชุดที่แล้วได้ปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อรองรับสถานภาพอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และมีผลบังคับใช้แล้วก็ตาม เปรียบเสมือนเป็นฐานรากของอาคาร

แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาจารย์กลุ่มดังกล่าวเกิดความรู้สึกว่ามีความมั่นคง มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน มีรายได้ที่ทัดเทียมกับการทำงานในองค์การอื่นๆ มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงได้ไม่น้อยกว่ากลุ่มที่เป็นข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ระบบการเลื่อนขึ้นเงินเดือนประจำปี ระยะเวลาการจ้าง ฯลฯ อาจารย์กลุ่มดังกล่าวยังมีคำตอบที่ไม่ชัดเจน

แม้ว่าสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้ออกข้อบังคับเพื่อกำหนดแนวทางไว้แล้ว แต่แนวปฏิบัติในแต่ละเรื่องตามข้อบังคับของสภา สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับมุมมองความชำนาญการ เชี่ยวชาญ และวิสัยทัศน์ ของสภาสถาบันอุดมศึกษารวมทั้งศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง

สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของสถาบันจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการจูงใจ และรักษาคนดีคนเก่ง และอาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูงให้คงอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เนื่องจากสภาเป็นผู้ออกข้อบังคับ ระบบบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจะมีความก้าวหน้าและดลใจให้อาจารย์กลุ่มดังกล่าวมีกำลังใจ รู้สึกว่าตนเองมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ก้าวหน้าทัดเทียมกับการทำงานอื่นๆ ที่มีคุณวุฒิเท่ากันโดยเฉพาะปริญญาเอก

คำถามสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการอุดมศึกษาของไทย ก็คือทำอย่างไรที่จะทำให้ข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งมีความทันสมัย และจูงใจคนดีคนเก่งอยากเข้าทำงาน หรือคงอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในลักษณะที่ยั่งยืน

ในประเด็นนี้ท่านเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ดร.สุเมธ แย้มนุ่น) ซึ่งเป็นนักบริหารอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ที่โดดเด่นคนหนึ่งน่าจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาให้สำเร็จ

ทำอย่างไรจึงจะมีกรอบมาตรฐานกลางระดับชาติในด้านการบริหารบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อใช้เทียบเคียง (Benchmark) ของสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง โดยเฉพาะบทบัญญัติในมาตรา 65/1 และ 65/2 ให้แต่ละแห่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการเทียบเคียงกับมาตรฐาน อาจทำให้มาตรฐานการบริหารบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแต่ละแห่งมีช่องว่างและแตกต่างกันมากเกินไป

เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ใหญ่และเป็นที่กังวลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกลุ่มนี้ในปัจจุบัน และอนาคตจะเป็นประชาคมส่วนใหญ่ของสถาบันอุดมศึกษารวมทั้งมีบทบาทที่เป็นต้นน้ำหรือตัวแปรอิสระที่สำคัญยิ่งในระบบการผลิตบัณฑิต และการปฏิบัติพันธกิจของอุดมศึกษา

และหากเหลียวมองดูสถาบันอุดมศึกษาข้างเคียงคือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่เหล็กที่เป็นแหล่งทำงานที่พึงประสงค์ของอาจารย์กลุ่มดังกล่าวเพราะเป็นระบบที่มีความมั่นคง ก้าวหน้ามากกว่า

ฝ่ายการเมืองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการควรให้ความสำคัญต่อการสร้างสถานภาพของอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้วยการกำหนดเป็นวาระระดับชาติ เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รวมพลังในการสร้างระบบการบริหารงานบุคคลของอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้มีมาตรฐาน

หรือจะปล่อยให้กลุ่มอาจารย์พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยเฉพาะในกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐกลุ่มใหม่ที่กล่าวข้างต้น มีสถานภาพเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเท่านั้น

ที่มา : http://news.sanook.com/scoop/scoop_293166.phpv

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เลขาฯ สกอ. ส่งหนังสือถึง ประธาน ทปอ. 3 แห่ง [ความคืบหน้าจาก สกอ.]



..

บุคคลที่สถานะไม่ชัดเจน

บุคคลที่สถานะไม่ชัดเจน

โดย Poy-Rewanee Chaichaowarat เมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 เวลา 16:00 น. ·


อาจารย์มหาวิทยาลัย...ฟังดูเป็นอาชีพที่ดูมีเกียรติและศักดิ์ศรี มีหน้ามีตาในสังคมดีทีเดียว แต่ใครจะคิดบ้างว่า สถานะของอาจารย์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันนี้ได้แตกต่างกับในอดีตมากมายเกินกว่าจะคาดคิดถึง

จริงอยู่ที่ภาระหน้าที่หลักของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคือการสร้างบัณฑิตระดับอุดมศึกษาเพื่อป้อนเข้าสู่สังคม เป็นกลไกในการขับเคลื่อนหลักของระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ แต่ทว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่ง(ซึ่งในปัจจุบันอาจนับได้ว่าเป็นคนส่วนใหญ่)กลับมีสถานภาพแตกต่างจากอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจน ด้วยคำเรียกขานที่แตกต่างกันว่า "พนักงานมหาวิทยาลัย"

ด้วยคำเรียนกขานที่แตกต่างกันเช่นนี้..ด้วยระยะเวลาในการถือกำเนิด ทำให้มีความเป็นอาวุโสอ่อนด้อยกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นข้าราชการ..สวัสดิการและค่าตอบแทนที่ผู้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน หากแต่มีคำเรียกขานทางสถานะแตกต่างกันพึงได้ จึงน้อยกว่าอย่างที่หลายฝ่ายไม่อาจคาดคิดถึง

..เจ็บป่วยคราใดใช้สิทธิ์การรักษาประกันสังคม เช่นเดียวกับลูกจ้างห้างร้านทั่วไป

...ด้วยรายได้ที่รัฐบาลประกาศปาวๆ ว่า ป.ตรี หมื่นห้า แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้ซึ่งเป็นเพียงพนักงานมหาวิทยาลัย จบ ป.โท ป.เอก เกลื่อนกลาด ด้วยเกณฑ์ที่ สกอ.ครอบไว้ว่า จะทำการสอน ป.ตรี ได้ผู้สอนต้องมีคุณวุฒิอย่างน้อย ป.โท..กลับได้รับเงินเดือนน้อยกว่าลูกศิษย์ตัวเอง ...สังคมภายนอกที่มองว่าอาจารย์มหาลัยเป็นหนึ่งในกลุ่มอาชีพผู้มีอันจะกินพึงรักษาหน้าตัวเองด้วยการเสียภาษีสังคมที่เดือนๆ นึงก็มิใช่น้อย..หากมีแผนในอนาคตว่าจะจัดงานที่เรียกภาษีสังคมคืนได้ก็ว่ากันไป แต่สำหรับผู้ที่ไม่เห็นอนาคตในด้านนั้นก็มีหนี้ศูนย์ปีๆ นึงเหยียบครึ่งหมื่นกันเลยทีเดียว

.....การทำผลงานทางวิชาการ แน่นอนว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยทุกคนใฝ่ฝันว่าจะพัฒนาศักยภาพตัวเองเป็นทุนเดิม ย่อมต้องการพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการ ด้วยข้อเสนอที่น่าสนใจยิ่งนัก..ข้าราชการครูดูเหมือนจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเสียด้วยซ้ำ..เช่นนี้แล้ว มิสู้ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานดีกว่าหรือ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเข้มงวดกวดขันในเชิงวิชาการที่ตำแหน่ง ผศ. รศ. หรือ ศ. ต้องรับภาระอันหนักอึ้งที่แบกไว้ กว่าจะได้มาไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว

....นอกจากภาระงานสอนอันหนักอึ้ง..ภาระงานอื่นก็มิใช่น้อย กล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่ง่ายเลยจริงๆ แต่ทว่าค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้ช่างน่าภูมิอกภูมิใจยิ่งนัก และด้วยสถานะที่ไม่ชัดเจนเช่นนี้จึงทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งจำเป็นต้องหาทางเลือกที่ดีกว่า ไปอยู่ในสถานที่ที่ให้ค่ามันสมองได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่า จนเกิดการสมองไหลเกิดขึ้น..เป็นเรื่องที่ไม่สามารถกล่าวโทษผู้ใดได้เลยจริงๆ

มนุษย์ ปุถุชน คนธรรมดาล้วนต้องการสิ่งที่ดีกว่าและชัดเจนด้วยกันทั้งสิ้น..การแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดจึงไม่ใช่สิ่งผิด

หลายครั้งหลายคราปฏิบัติหน้าที่ด้วยความคิดที่ว่าจะพัฒนาบ้านเรา..นึกถึงคำของเคเนดี้เสมอ (แม้จะไม่ใช่อเมริกันจ๋าก็ตามที) “Don’t ask what the country can do for you, ask what you can do for your country” แต่วันนี้คิดว่า..ควรถามในใจเสียงดังๆ ได้แล้วว่า..เราได้อะไรเปนการตอบแทน..นอกจากความสบายใจและความสุขที่เห็นลูกศิษย์ได้ดิบได้ดีมีเงินเดือนเยอะกว่า..เพราะทุกครั้งที่เติมน้ำมันรถและซื้อกาแฟสดกิน ไม่สามารถหยิบยื่นความสบายอกสบายใจ ความภาคภูมิใจและความสุขให้แทนธนบัตรในกระเป๋าสตางค์ได้เลยจริงๆ

เครดิต : http://www.facebook.com/notes/poy-rewanee-chaichaowarat/บุคคลที่สถานะไม่ชัดเจน/413089042049797